วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ความเห็นต่อหนังสือ "กฎหมายมหาชน" โดย ดร.โภคิน พลกุล

ความเห็นต่อหนังสือ”กฎหมายมหาชน” ของ ดร.โภคิน
หลักกฎหมาย (Rule of Law) เป็นหลักหนึ่งของระบอบการปกครอง เป็นหลักหนึ่งของอำนาจการปกครอง ไม่ว่าระบอบจะเป็นเผด็จการหรือประชาธิปไตยต้องใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ ถ้าอำนาจเป็นของปวงชนเขียนกฎหมาย กฎหมายก็จะเป็นของปวงชน ถ้าอำนาจเผด็จการเขียนกฎหมาย กฎหมายก็จะไม่เป็นของปวงชน หรือมหาชน ผมไม่ได้อ่านหนังสืออาจารย์ ดร.โภคิน ว่าพูดถึงเรื่องนี้ไว้ด้วยอย่างไรหรือไม่ แต่ประเทศสยามและไทยมีปัญหาหลักกฎหมายนี้มาตลอด ว่ากฎหมายมหาชนเราไม่ค่อยมีความหมายในทางปฏิบัติ มีอยู่แต่ใน "กระดาษ"เท่านั้น แม้แต่รัฐธรรมนูญก็ไม่เคยเป็นเอกสารศักดิ์สิทธิ เหมือนของอารยะประเทศเขา เพราะอะไร ลองช่วยกันหาคำตอบหน่อยปะไร – วิบูลย์ แช่มชื่น


ความจริงปัญหาของไทยในเรื่องนี้เป็น ประเด็นข้อกำหนดใน รธน. ๒๕๕๐ มาตรา ๖ และในทุกฉบับด้วย และเป็นปัญหาเกี่ยวกับการให้สัตยาบรรณ Ratification ต่อ Rome Statute คือธรรมนูญกรุงโรมด้วย เกี่ยวข้องกับเขตอำนาจศาล (Jurisdiction) ของ ICC ด้วย ปัญหาในวันนี้คือ Rome Statute ไม่ได้ยกเว้นการกระทำผิดของประมุขประเทศไว้ ถ้าเกิดมีการสังหารคนตายหมู่จำนวนมาก อย่างกรณี เมษา-พ.ค. ๕๓ทีเกิดในไทย Rome Statute ก็ไม่มีข้อยกเว้น นั่นคือ ประมุขของไทยจะต้องร่วมรับผิดชอบด้วย เป็นปัญหาที่ทำให้ไทยเป็นภาคีไม่ได้ หรือได้ไม่เต็มที่เพราะข้อกำหนดดังกล่าว แม้รัฐบาลได้ลงนามไปแล้ว แต่ยังไม่สามารถเสนอเข้าสู่รัฐสภาได้ จึงควรสาธารณะและผู้แทนปวงชน ควรพิจารณาทบทวนว่าควรจะเป็นอย่างไรดี Rule of Law ในกรณีนี้จึงจะสามารถเป้นหลักแห่งยุติธรรมได้จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Satellite : THAICOM-5
System :C-BAND
Frequency : 3545 MHz
Symbol Rate: 30000
Polarity : Vertical

ThaiRedNews 2539 Imperial World Ladprao Bangkok 10230

Design for Mozilla Firefox 1280 x 768 WideScreen Edition